พุธ. ต.ค. 16th, 2024
ถึงฤดูหีบอ้อย ชาวไร่ที่สุพรรณบุรีส่วนหนึ่งใช้วิธีเผาไร่อ้อย เพื่อทุ่นค่าจ้างแรงงานคนตัดและใช้เป็นข้ออ้างกับโรงงานให้รีบรับซื้อ ทำให้เกิดฝุ่นสีดำฟุ้งกระจายไปทั่ว ติดตามอาคารบ้านเรือนร้านค้า ค่า PM 2.5 พุ่งสูง ชาวบ้านเดือดร้อน ด้านผวจ.สั่งกำชับโรงงาน ไม่รับซื้ออ้อยไฟไหม้
วันที่ 15 ม.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานมาจากจ.สุพรรณบุรี ว่า ปัจจุบันหลายอำเภอของจังหวัด อาทิ อ.อู่ทอง อ.ด่านช้าง อ.เดิมบางนางบวช อ.หนองหญ้าไซ อ.ดอนเจดีย์ อ.สามชุก กำลังได้รับความเดือดร้อนจากการเผาไร่อ้อย ก่อนตัดเข้าโรงงาน ส่งผลให้ใบอ้อยที่ถูกเผากลายเป็นฝุ่นสีดำทั้งขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ ปลิวว่อนไปตามอาคารบ้านเรือนทำให้อาคารบ้านเรือนสกปรกตลอดทั้งวัน โดยเฉพาะร้านค้า ร้านอาหารได้รับผลกระทบอย่างหนัก ผู้ขับขี่รถจยย.เศษใบอ้อยที่ถูกเผาปลิวเข้าตาทำให้ตาอักเสบจำนวนมาก ผู้ที่เป็นภูมิแพ้ทนไม่ไหวถึงกับต้องเข้าโรงพยาบาล ที่สำคัญยังส่งผลให้ค่าฝุ่น PM 2.5 พุ่งเพิ่มขึ้นเกินค่ามาตรฐานอย่างมากมายอีกด้วย
อดีตข้าราชการบำนาญ อายุ 68 ปีผู้หนึ่ง อดีตพนักงานโรงงานจัดจำหน่าย ถุงห่อผลไม้กันแมลง / ถุงตาข่ายกันแมลง เผยว่า ปัญหาเขม่าใบอ้อยมีมานานมาก ได้รับผลกระทบทุกปี กวาดบ้านวันละหลายรอบ ตากผ้าก็ไม่ได้ผ้าสกปรกเต็มไปด้วยใบอ้อย ที่บ้านมีเด็กเล็ก พอถึงช่วงมีการจุดไฟเผาอ้อย ก็พากันป่วยเป็นภูมิแพ้ วอนผู้เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง โดยเฉพาะต้องห้ามโรงงานน้ำตาลรับซื้ออ้อยไฟไหม้มาหีบอย่างเด็ดขาด เพราะชาวไร่มักจะอาศัยอ้างเหตุอ้อยถูกไฟไหม้เพื่อให้โรงงานรีบรับ รวมถึงชาวไร่อ้อยเองบางรายก็เห็นแก่ตัว ใช้วิธีจุดไฟเผาเอง เพื่อจะได้ทุ่นค่าใช้จ่าย และเบาแรงคนงานตัดอ้อย แต่อ้างว่ามีคนแกล้งลักลอบจุดไฟเผา

ทางด้าน นายณัฐภัทร สุวรรณประทีป ผวจ.สุพรรณบุรี กล่าวว่า ตนได้รับทราบปัญหาแล้ว กำลังอยู่ระหว่างการส่งทีมเข้าไปแก้ไขให้ทุกฝ่ายสามารถอยู่ร่วมกันได้ จากการตรวจสอบพบว่า เหตุที่มีการเผาไร่อ้อยก่อนส่งเข้าโรงงานมาจากปัญหาการขาดแรงงานมาตัดอ้อย เมื่อจะใช้รถตัด ก็มีปัญหารถตัดมีน้อย แปลงที่ไม่ใหญ่เมื่อนำรถตัดมาก็ทำให้ต้นทุนสูง ดังนั้น จึงกำหนดมาตรการให้โรงงานน้ำตาลไม่รับซื้ออ้อยไฟไหม้ และต้องมีรถตัดอ้อยไว้ให้บริการลูกไร่ รวมถึงหากมีกรณีจำเป็นจริงๆ ในการเผาต้องมีการบริหารลำดับการเผาให้เหมาะสม และส่งผลกระทบกับประชาชนส่วนใหญ่น้อยที่สุด