ศุกร์. ธ.ค. 1st, 2023

“ประวิตร” ยกเหตุผล ไม่ไปออกเวที “ดีเบต” ชี้ “ผู้นำในหลายประเทศ” ไม่จำเป็นต้องวัดประสิทธิภาพผู้นำด้วยการดีเบต

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เฟสบุ๊ค “พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ” เจ้าของโรงงานจำหน่าย พลาสติกกันกระแทก / แอร์บับเบิ้ล กล่าวถึงเรื่องการชวนไปออกเวที “ดีเบต” หรือ “ไม่ดีเบต” ซึ่งได้เขียนชี้แจงถึงเหตุผล สื่อสารไปยังประชาชน

ว่า ผมขอบคุณทุกท่านที่ให้เกียรติ และปรารถนาดีกับผมด้วยการเชิญไปร่วมตอบคำถาม หรือดีเบตในเวทีต่างๆ ในฐานะที่ผมเป็นหัวหน้าพรรค ปาร์ตี้ลิสต์อันดับ 1 และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรค ผมเข้าใจในความปรารถนาดี และให้โอกาสที่ดีเช่นนั้นกับผม เพียงแต่ขอให้ทุกท่านโปรดช่วยเข้าใจผมสักหน่อยเช่นกันครับ

ผมยอมรับว่าประเทศควรจะมี “ผู้นำ”ที่มีความรู้ความสามารถที่สุด เพื่อให้เป็น “ผู้นำที่มีประสิทธิภาพที่สุด” ในการนำพาประเทศสู่การพัฒนาให้เจริญรุ่งเรือง บริหารจัดการให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ประเด็นที่ผมคิดว่าน่าจะนำมาแลกเปลี่ยนกัน คือ “ผู้นำที่มีประสิทธิภาพ”ตามความหมายดังกล่าว “วัดด้วยอะไร” วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ของประชาชนในแต่ละประเทศที่แตกต่างกัน การกำหนดเครื่องชี้วัด “ประสิทธิภาพผู้นำ”จะต้องแตกต่างกันด้วยหรือไม่ “ความรู้ ความสามารถ ความมีประสิทธิภาพของผู้นำ” ประชาชนสัมผัสได้ด้วยอะไร ด้วยวิธีไหน จริงอยู่ “การพูด”เป็นวิธีหนึ่งที่ใช้โชว์ความรอบรู้ให้ประชาชนได้รับทราบถึง “ประสิทธิภาพผู้นำ”

แต่ “การพูด” ไม่ใช่วิธีเดียวที่จะทำให้ประชาชนรับรู้ถึงความสามารถ ความมีประสิทธิภาพของผู้นำ ในความเป็นจริงคือ ระหว่าง “ความคิด คำพูด และการกระทำ”อันเป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้สื่อสารกับคนอื่น กับสังคม กับโลกภายนอกนั้น

“คำพูด”เป็นเครื่องมือสื่อสารที่สะท้อนความเป็นจริงของความรู้ความสามารถได้น้อยที่สุด เพราะ “คนพูดเก่ง”สามารถพูดในสิ่งที่ตัวเองไม่ได้เป็น แม้กระทั่งไม่เคยคิด ได้ง่ายๆ

เพียงแค่คิดขึ้นเฉพาะหน้าว่าพูดอย่างไรจะเป็นประโยชน์กับตัวเอง แล้วใช้ศิลปะพูดโน้มน้าวให้คนฟังเชื่อในสิ่งที่แม้แต่ตัวเองไม่เคยเชื่อก็ได้ การยืนยัน “ความรู้ความสามารถ”ด้วย “การพูด”ว่าไปแล้วเป็นเรื่องที่เชื่อได้น้อยที่สุด เพียงแต่การแข่งขันทางการเมือง โดยเฉพาะในประเทศตะวันตก ความเป็นผู้นำที่ดีหรือไม่ นิยมใช้ “โวหาร วาทกรรม” เป็นเครื่องวัด

การ “ดีเบต” ในความหมายของการ “โต้วาที แสดงโวหาร” จึงเป็นเรื่องสำคัญ ประกอบกับเป็นวัฒนธรรมสังคมที่สื่อมวลชนมีบทบาท มีอิทธิพลต่อการชี้นำความคิดของประชาชน และ “การดีเบต”เป็นวิธีที่สื่อมวลชนแสดงบทบาทได้โดดเด่น

เป็นการสมประโยชน์ของทุกฝ่าย “นักการเมือง” ได้แสดงตัวตน “สื่อ” ได้แสดงบทบาท “ประชาชน” ได้ฟังการ “โต้วาที”ถกเถียงกันของคนมีชื่อเสียง ทั้งที่การ “ดีเบต”ไม่ได้เป็นอะไรมากกว่าการแสดงให้เห็นว่า “นักการเมือง”คนไหน “พูดเก่ง มีไหวพริบในการตอบโต้ได้ดี” ซึ่งอาจไม่เกี่ยวกับความรู้ความสามารถที่เป็นจริงของนักการเมืองคนนั้นเลยก็ได้